Connect to DB
  หัวข้อ : "สถานการณ์การซื้อเสียงใน กทม. ช่วง 2 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง"
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :.
 

            เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน กรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
              • การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
              • การติดต่อทาบทามซื้อเสียงจากพรรคการเมืองในแต่ละพื้นที่
              • การตัดสินใจเลือกผู้สมัครของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ได้รับการติดต่อซื้อเสียง
              • การตัดสินใจเลือกผู้สมัครในระบบแบ่งเขตและระบบบัญชีรายชื่อ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างจำนวน 2,420 คน
เป็นชายร้อยละ 44.8 หญิงร้อยละ 55.2
               กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.2 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 24.1
อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 25.8 อายุ 46 ปีขึ้นไป และไม่ระบุอายุ ร้อยละ 1.3
               กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษา ดังนี้ ร้อยละ 25.6 ประถมศึกษา ร้อยละ 30.0 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 9.3 ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 31.9 ปริญญาตรี ร้อยละ 2.4 สูงกว่าปริญญาตรี และร้อยละ 0.8 ไม่ระบุ
               อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ37.7 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.7 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.9
พนักงาน/ ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 4.7 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.4 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
ร้อยละ 6.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ ร้อยละ 3.5 ว่างงาน และอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.8
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 2% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : .การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
                                        ในเรื่อง "สถานการณ์การซื้อเสียงใน กทม. ช่วง 2 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง"
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : . 4 กุมภาพันธ์ 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 5 กุมภาพันธ์ 2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
                1. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน กทม. ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ ร้อยละ 92.1
ไม่ไป ร้อยละ4.1 และยังไม่แน่ใจ ร้อยละ3.8
                    ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจที่ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์สำรวจไว้เมื่อวันที่ 20-23 มกราคมที่ผ่านมา
พบว่า คนกรุงเทพฯ ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เพิ่มขึ้นจาก 2 สัปดาห์ก่อน ร้อยละ 11.0

                2. สำหรับข้อมูลการติดต่อซื้อเสียงในแต่ละเขต พบว่า ในจำนวนเขตเลือกตั้ง 37 เขตของ กทม. มีเขตที่
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งระบุว่าได้รับการติดต่อซื้อเสียงจำนวน 24 เขต หรือคิดเป็นร้อยละ 64.9 โดยเขตที่ถูกระบุว่าได้รับการ
ติดต่อซื้อเสียงมากที่สุด ได้แก่ เขต 5 คือเขตปทุมวัน และเขตราชเทวี (เฉพาะแขวงถนนเพชรบุรี และแขวงมักกะสัน)
รองลงมาได้แก่ เขต 2 คือเขตดุสิต และเขต 36 คือเขตบางแค (เฉพาะแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่)ตามลำดับ
                    ส่วนเขตที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งระบุว่าไม่ได้รับการติดต่อซื้อเสียงเลย มีทั้งสิ้น 13 เขต ได้แก่ เขต 1 เขต 10
เขต 11 เขต 12 เขต 13 เขต 14 เขต 16 เขต 18 เขต 20 เขต 22 เขต 24 เขต 33 และเขต 35

                3. เมื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส.ในระบบแบ่งเขต และระบบบัญชีรายชื่อของผู้ที่ได้รับการ
ติดต่อซื้อเสียง เฉพาะในส่วนที่ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พบว่า
                    - ผู้ที่ได้รับการติดต่อซื้อเสียงตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส.ในระบบแบ่งเขตของพรรคที่มาติดต่อซื้อเสียง
ร้อยละ 39.5 ขณะที่ร้อยละ 60.5 เลือกพรรคอื่น
                    - ผู้ที่ได้รับการติดต่อซื้อเสียงตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส.ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคที่มาติดต่อซื้อเสียง
ร้อยละ 36.8 ขณะที่ร้อยละ 63.2 เลือกพรรคอื่น

                4. ทั้งนี้ชาว กทม. ร้อยละ 83.6 จะเลือกผู้สมัคร สส.ในระบบแบ่งเขตกับระบบบัญชีรายชื่อที่มาจากพรรคเดียวกัน
ขณะที่ ร้อยละ16.4 จะเลือกคนละพรรค

   
 

ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล

       
    ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
   จำนวน ร้อยละ
เพศ :
            ชาย 1089 44.8
            หญิง 1341 55.2
อายุ :
            18-25 ปี
612
25.2
            26-35 ปี
572
23.5
            36-45 ปี
586
24.1
            46 ปีขึ้นไป
628
25.8
            ไม่ระบุ
32
1.3
การศึกษา :
            ประถมศึกษา 622 25.6
            มัธยมศึกษา / ปวช. 728 30.0
            ปวส. / อนุปริญญา 227 9.3
            ปริญญาตรี 775 31.9
            สูงกว่าปริญญาตรี 58 2.4
            ไม่ระบุ 20 0.8
อาชีพ :
            ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
916
37.7
            รับจ้างทั่วไป
357
14.7
            พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
338
13.9
            ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
113
4.7
            นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา
423
17.4
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
155
6.4
            ว่างงาน
84
3.5
            อื่น ๆ
44
1.8
   
ตารางที่ 2: ท่านจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้หรือไม่
   
   จำนวน ร้อยละ
ไป 2238 92.1
ไม่ไป 100 4.1
ไม่แน่ใจ 92 3.8
   
ตารางที่ 3: ท่านจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้หรือไม่ (ผลสำรวจเมื่อวันที่ 20-23 ม.ค. 48)
   
   จำนวน ร้อยละ
ไป 888 79.1
ไม่ไป 63 5.6
ไม่แน่ใจ 171 15.2
   


ตารางที่ 4: การติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานคร

   
เขตเลือกตั้ง
เขต
มี
ไม่มี
1
เขตพระนคร
เขตป้อมปราบฯ
-
100.0
2
เขตดุสิต
12.3
87.7
3
เขตบางซื่อ
1.5
98.5
4
เขตพญาไท
เขตราชเทวี เฉพาะแขวงทุ่งพญาไท แขวงถนนพญาไท
8.6
91.4
5
เขตราชเทวี เฉพาะแขวงถนนเพชรบุรี มักกะสัน
เขตปทุมวัน
15.6
84.4
6
เขตสัมพันธวงศ์
เขตสาทร เฉพาะแขวงยานนาวา ทุ่มมหาเมฆ
เขตบางรัก
1.1
98.9
7
เขตสาทร เฉพาะแขวงทุ่งวัดดอน
เขตยานนาวา
8.1
91.9
8
เขตบางคอแหลม
27.3
72.7
9
เขตคลองเตย
1.8
98.2
10
เขตวัฒนา เฉพาะแขวงคลองเตยเหนือ คลองตันเหนือ
เขตห้วยขวาง
-
100.0
11
เขตดินแดง
-
100.0
12
เขตจตุจักร
-
100.0
13
เขตหลักสี่
-
100.0
14
เขตดอนเมือง
-
100.0
15
เขตสายไหม
1.5
98.5
16
เขตบางเขน
-
100.0
17
เขตลาดพร้าว
3.1
96.9
18
เขตวังทองหลาง
-
100.0
19
เขตบางกะปิ
1.7
98.3
20
เขตบึงกุ่ม
-
100.0
21
เขตคันนายาว
สะพานสูง
1.7
98.3
22
เขตสวนหลวง
เขตประเวศ เฉพาะแขวงประเวศ
-
100.0
23
เขตประเวศ เฉพาะแขวงหนองบอน
แขวงดอกไม้ แขวงสวนหลวง
เขตบางนา
3.5
96.5
24
เขตพระโขนง
-
100.0
25
เขตหนองจอก
เขตลาดกระบัง
3.0
97.0
26
เขตมีนบุรี
เขตคลองสามวา
2.4
97.6
27
เขตธนบุรี เฉพาะแขวงบางยี่เรือ บุคคโล ตลาดพลู
4.3
95.7
28
เขตธนบุรี เฉพาะแขวงวัดกัลป์ยาณ์ หิรัญรูจี
เขตคลองสาน
1.3
98.7
29
เขตบางกอกน้อย เฉพาะแขวงอรุณอัมรินทร์
เขตบางพลัด
1.4
98.6
30
เขตบางกอกน้อย เฉพาะแขวงศิริราช บ้านช่างหล่อ
บางขุนนนท์ บางขุนศรี
2.2
97.8
31
เขตภาษีเจริญ เฉพาะแขวงบางด้วน บางแวก
เขตตลิ่งชัน
2.9
97.1
32
เขตภาษีเจริญ เฉพาะแขวงบางหว้า บางจาก
ปากคลองภาษีเจริญ คูหาสวรรค์
เขตบางกอกใหญ่
1.5
98.5
33
เขตจอมทอง
-
100.0
34
เขตราษฎร์บูรณะ
เขตทุ่งครุ
4.9
95.1
35
เขตบางขุนเทียน
เขตบางบอน
-
100.0
36
เขตบางแค เฉพาะแขวงบางแค บางแคเหนือ บางไผ่
11.4
88.6
37
เขตบางแค เฉพาะแขวงหลักสอง
เขตทวีวัฒนา
เขตหนองแขม
1.6
98.4
   
ตารางที่ 5: การตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส.ในระบบแบ่งเขต และระบบบัญชีรายชื่อของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่
                ได้รับการติดต่อซื้อเสียงและระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
   
 
เลือกพรรคที่ติดต่อ
ซื้อเสียง
เลือกพรรคอื่น
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
สส.ในระบบแบ่งเขต
15
39.5
23
60.5
สส.ในระบบบัญชีรายชื่อ
14
36.8
24
63.2
   
ตารางที่ 6: การตัดสินใจเลือกผู้สมัคร สส.ในระบบแบ่งเขตและระบบปาร์ตี้ลิสต์ของผู้ที่ระบุว่า
                จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เลือกพรรคเดียวกัน
1871
83.6
เลือกคนละพรรค
367
16.4
 
2238
100
 
   
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
   
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
   
Download document file :   (  )
   
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776